ซิฟิสิส คือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้มากกว่าโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดอื่นๆ มีระยะแฝงที่ค่อนข้างนาน และสามารถแพร่ให้คู่สมรสและลูกได้ หากสงสัยว่าเป็นโรคซิฟิลิส ต้องไปตรวจเลือดนะคะ
ซิฟิลิส เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Treponema pallidum และติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์ โดยที่เชื้อเข้าทางรอยถลอกหรือบาดแผลเล็กๆ หรืออาจจะไชเข้าสู่เยื่อบุผิวของท่อปัสสาวะ ทวารหนัก ช่องคลอด หรือช่องปาก
เราจะแบ่งอาการของซิฟิลิสออกเป็น 3 ระยะ
1.ระยะที่ 1 เป็นแผล
-จะเกิดหลังจากที่รับเชื้อประมาณ 10-90 วัน
-มีตุ่มเล็กๆเท่าหัวเข็มหมุดเป็นได้ทั้งที่หัวหน่าว ขาหนีบ ทวานหรือริมฝีปาก ก็ได้ ต่อมาแผลแตกเป็นแผลขอบเรียบและแข็ง เรียกว่า แผลริมแข็ง
-แผลไม่เจ็บ ไม่คัน
-ประมาณ 1 สัปดาห์หลังตุ่มขึ้น จะพบต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบโตทั้ง 2 ข้าง ไม่เจ็บ ลักษณะแข็ง
-หากไม่รักษาแผลอาจหายเองได้ ใน 3-10 วัน แต่ว่าเชื้อยังมีอยู่ในร่างกายนะคะ
ระยะที่ 2 เข้าข้อ ออกดอก
-พบหลังระยะแรกประมาณ 4-8 สัปดาห์
-เชื้อเข้าต่อมน้ำเหลืองและอยู่ในเลือด กระจายทั่วร่างกาย
-ผื่นขึ้นทั้งตัวและฝ่ามือ ฝ่าเท้า ไม่คัน เรียกว่า ออกดอก
-อาจจะมีไข้ต่ำๆ เป็นครั้งคราว ปวดหัว อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด แผลในปาก หรืออวัยวะเพศ ลักษณะเป็นแผลตื้นมีเยื่อจาวปนเทาคลุม
-หากไม่รักษาจะหายเองได้แต่ว่าเชื้อจะแฝงในตัวนานเป็นปีๆ อาจจะ 5-10 ปีเลย แล้วก็เข้าสู่ระยะ 3
วิธีการรักษาในระยะที่ 1,2
ไปโรงพยาบาล เพื่อตรวจเลือดและรักษาโดยหมอจะให้ยาฉีดเบนซาทีนเพนิซิลลิน 2.4 ล้านยูนิต เข้ากล้ามเนื้อทีเดียว และ ถ้าเป้นระยะที่ 2 หมอจะฉีดซ้ำในอีก 1 สัปดาห์
แต่ถ้าแพ้ยากลุ่มเพนนิซิลลินหมอจะให้ยากิน
เตตราไซคลิน(tetracycline) 500 มิลลิกรัม ครั้งละ 1 เม็ด วันละ 4 ครั้ง หลังอาหาร เช้า กลางวัน เย็น และ ก่อนนอน นาน 15 วัน ห้ามทานพร้อมกับนม ยาลดกรด และธาตุเหล็ก
หรือ ดอกซีไซคลิน (doxycycline) ครั้งละ 100 มิลลิกรัม วันละ 2ครั้ง หลังอาหาร เช้า เย็น นาน 15 วัน ห้ามทานพร้อมกับนมและยาลดกรด
ระยะที่ 3 ระยะทำลาย
ระยะนี้เกิดจากการเป็นระยะ 1 และ 2 แล้วรักษาไม่ถูกวิธี หรือบางคน ไม่มีแผลให้เห็น ไม่เข้าข้อ ไม่ออกดอก แต่จะเจ้าไปแฝงตัวในร่างกาย และเข้าสู่ระยะ 3 เลย
ระยะนี้เชื้อจะเข้าสู่สมองและไขสันหลัง ทำให้เป็นอัมพาต เดินเซ ชัก ความจำเสื่อม ตามัว ตาบอด หูหนวก หูตึง อาจเสียสติได้ ถ้าเขื้อเข้าสู่หัวใจทำให้เป็นโรคลิ้นหัวใจเออร์ติกรั่ว หลอดเลือดแดงใหญ่อักเสบ หรือหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง
หากคนท้องติดเชื้อซิฟิลิส เชื้ออาจจะถ่ายทอดไปสู่ทารกทางรก ทำให้ทารกตายในครรภ์ หรือตายหลังคลอด หรือไม่ก็อาจจะพิการไปตลอดชีวิต
การรักษา หญิงตั้งครรภ์
ให้กิน อีริโทรไมซิน (erythromycin) ครั้งละ 500 มิลลิกรัม วันละ 4 ครั้ง นาน 30 วัน
การวินิจฉัยว่าเป็นโรคซิฟิลิสควรที่จะไปตรวจเลือดที่โรงพยาบาลไม่ควรดูแต่แผลอย่างเดียว การตรวจในโรงพยาบาล สามารถตรวจเลือดหา VDRL จะพบผลบวกตั้งแต่หลังมีแผล 1-2 สัปดาห์
หากอ่านมาถึงตรงนี้แล้วสงสัยกดลิงค์เข้ามาคุยกันได้นะคะ
FB: https://www.facebook.com/rukyaphama8/
บทความโดย ภญ.ยุพเรศ ภัทรอนันต์พงศ์