fbpx
Thursday, 3 October 2024

อาการก่อนเป็นประจำเดือนมีอาการยังไง กินยารักษายังไง

อาการก่อนเป็นประจำเดือน (Premenstrual Syndrome,PMS) เป็นอาการที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ไข่ตกจนถึงก่อนมีประจำเดือน คือประมาณวันที่ 15-28 ของรอบเดือน หรือ 1-2 สัปดาห์ก่อนเป็นประจำเดือนและอาการจะหายไปเมื่อประจำเดือนหมด

อาการก่อนเป็นประจำเดือน (Premenstrual Syndrome,PMS) มีอาการยังไง

1.อาการทางกาย เช่น เจ็บคัดเต้านม ท้องอืด ปวดศีรษะ บวมบริเวณปลายเท้า ปวดท้องน้อย

อาการก่อนเป็นประจำเดือน

2.อาการทางอารมณ์ เช่น ภาวะซึมเศร้า มีอาการหงุดหงิด ระงับโกรธไม่ได้ กังวล สับสน

อาการก่อนเป็นประจำเดือน

3.อาการผิดปกติทางสังคมและการใช้ชีวิต เช่น มีปัญหากับผู้อื่น ขาดงาน ขาดเรียน แยกตัวจากสังคม อยากฆ่าตัวตาย

แต่หากอาการก่อนเป็นประจำเดือนรุนแรงจะต้องไปพบแพทย์ เรามาดูกันต่อค่ะว่าอาการก่อนเป็นประจำเดือนรุนแรงมีอะไรบ้าง

ถ้าอาการก่อนเป็นประจำเดือนรุนแรงเรียกว่า premenstrual dysphoric disorder (PMDD) จะมีอาการอย่างน้อย 5ข้อ และ 1ในอาการ 5ข้อนั้น อยู่ใน4 ข้อแรกดังต่อไปนี้

1.อาการซึมเศร้า หดหู่ สิ้นหวัง

2วิตกกังวลมาก เครียด

3.การเปลี่ยนแปลงของอารมณ์เฉียบพลัน เช่นโกรธ ร้องไห้ กระสับกระส่าย

4.เกิดการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์จนเกิดความขัดแย้งกับผู้อื่น

5.สนใจกิจกรรมต่างๆลดลง

6.อ่อนแรงง่าย

7.ไม่มีสามาธิ

8.กินมากขึ้น

9.นอนไม่หลับ หรือนอนมากกว่าปกติ

10.ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้

11.เกิดอาการทางร่างกาย เช่น คัดเต้านม ปวดหัว บวม ปวดตามข้อ น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น

อาการจะเกิดขึ้นตลอดเวลาในช่วงสัปดาห์สุดท้ายก่อนเป็นประจำเดือนมา และจะดีขึ้นเมื่อประจำเดือนมา และ อาการที่เกิดต้องไม่ใช่อาการกำเริบของโรคทางจิตเวชอื่นๆ

ยารักษาอาการก่อนเป็นประจำเดือน (Premenstrual Syndrome,PMS)

1.กินยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม ที่มีฮอร์โมนestrogen และ progesterone เท่ากันทุกเม็ด ซึ่งยาคุมกำเนิดสามารถลดอาการทางกาย เช่น คัดตึงเต้านม บวมน้ำ สิวขึ้น และอาการปวดท้องประจำเดือนได้

2.แคลเซียมและวิตามินดี แนะนำให้กินแคลเซียมขนาด 500มิลลิกรัมวันละ1-2 ครั้งและวิตามินดีวันละ 200-400IU ทานต่อเนื่องอย่างน้อย 2-3 เดือน

3.วิตามินบี6 แนะนำให้กินไม่เกิน 100 มิลลิกรัมต่อวัน อย่างน้อย 2-3 เดือน

คำแนะนำเพื่อช่วยให้อาการก่อนเป็นประจำเดือนดีขึ้น

1.รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่

2.งดดื่มกาแฟ โกโก้ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน

3.งดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์ และงดสฟูบุหรี่

4.ลดการทานเกลือ ไขมัน และน้ำตาล

5.เพิ่มการกินอาหารที่มีphytoestrogen สูง เช่น ถั่วเหลือง และกินอาหารที่มี tryptophan มาก เช่นปลา

6.หากอ้วนให้ลดน้ำหนักและควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

7.นอนหลับ พักผ่อนอย่างน้อยวันละ 7-8 ชั่วโมง

8.แนะนำให้บันทึกอาการก่อนเป็นประจำเดือนอย่างน้อย 2 รอบเดือน เพื่อใช้ช่วยพิจารณาในการรักษา

หากอ่านมาถึงตรงนี้แล้วสงสัยกดลิงค์เข้ามาคุยกันได้นะคะ

FB: https://www.facebook.com/rukyaphama8/

บทความโดย ภญ.ยุพเรศ  ภัทรอนันต์พงศ์

เลขใบประกอบวิชาชีพ ภ.24887

ติดต่อได้เลยค่ะ