โรคกระดูกเป็นภาวะที่มวลกระดูกหรือความหนาแน่นของเนื้อกระดูกลดลง ร่วมกับการมีความเสื่อมของโครงสร้างภายในกระดูกทำให้ความแข็งแรงของกระดูกลดลง ทำให้กระดูกหักง่าย
ปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เป็นโรคกระดูกพรุน
1.วัยหมดประจำเดือนหรือผู้สูงอายุทั้งหญิงและชาย
แต่ผู้หญิงจะมีโอกาสเป็นมากกว่าผู้ชายเนื่องจากผู้หญิงมีฮอร์โมนเอสโตรเจน พอหมดประจำเดือนฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งเป็นตัวช่วยในการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกายก็น้อยลง ผู้หญิงจึงมีโอกาสกระดูกพรุ่นได้เร็วกว่าผู้ชาย
2. ชาติพันธุ์
เป็นคนเอเชียและคนผิวขาว มีโอกาสเป็นมากว่า
3. รูปร่าง
เป็นคนผอมบาง ตัวเล็ก มีโอกาสเป็นมากกว่า
4. ประวัติคนในครอบครัว
หากคนในครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุนหรือเคยหกล้มแล้วกระดูกหักเราก็มีความเสี่ยงกระดูกพรุนเหมือนคนในครอบครัว
5. อาหาร
ทานอาหารที่มีแคลเซียมไม่เพียงพอ หรือ ทานอาหารโปรตีน และรสเค็มมากเกินไป
6.ไม่ออกกำลังกาย
7.สูบบุหรี่ ดื่มสุรา หรือ ดิ่มกาแฟมากกว่า 2 แก้วต่อวัน
8. ใช้ยาสเตียรอยด์
9. ทานยากันชัก หรือ ฮอร์โมนธัยรอยด์ขนาดสูงเป็นเวลานาน
10. มีโรคเรื้อรัง เช่น ข้ออักเสบ และ โรคไต
โรคกระดูกพรุนถึงแม้ว่าส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ แต่ผลที่ตามมาทำให้
- ตัวเตี้ยลง หลังค่อม คอตก
- แน่นท้อง อิ่มง่าย
- ท้องผูก
- หายใจลำบาก
- เสียบุคลิกภาพ
- กระดูกหักง่าย
อาการที่บ่งบอกว่าเราเป็นโรคกระดูกพรุนก็คือ
- ตัวเตี้ยลงเร็วปีละมากกว่า 1 ซม.
- กล้ามเนื้อลีบเล็กลง
- กระดูกหลังโก่งงอ หรือ คด
- มีอาการปวดหลังเป็นๆหายๆสลับกัน
การป้องกันโรคกระดูกพรุน
- รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
- ทานอาหารที่มีธาตุเหล็ก
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- เลี่ยงการทานสุรา
- เลี่ยงการทานกาแฟเกินวันละ 2 แก้ว
- เลิกสูบบุหรี่
- ถ้าเป็นผู้สูงอายุต้องระวังการหกล้ม เพราะอาจทำให้กระดูกหักได้
เรามาดูกันนะคะว่าแต่ละช่วงวัยเราต้องการแคลเซียมเท่าไหร่ในแต่ละวัน
ทารก ต้องการ 600 ม.ก.
เด็ก ต้องการ 800 ม.ก.
วัยรุ่น ต้องการ 1,200 ม.ก.
ผู้ใหญ่ (25-50 ปี) ต้องการ 800-1,000 ม.ก.
วัยหมดประจำเดือน ต้องการ 1,500-2,000 ม.ก.
ผู้สูงอายุ ต้องการ 1,000 ม.ก.
อาหารอะไรบ้างที่เป็นแหล่งแคลเซียม ?
- เนื้อสัตว์ เช่น ปลาร้า กุ้งแห้ง ปลาลิ้นหมา
- ผัก เช่น ใบชะพลู เห็ดหอม ใบโหระพา ผักคะน้า ผักกระเฉด ยอดสะเดา ดอกแค ถั่วแดง เม็ดบัว เต้าหู้ ถั่วเหลือง
- นม เช่น นมผง เนยแข็ง นมอัดเม็ด ไอศกรีม
- เครื่องปรุง เช่น กะปิ ใบมะกรูด พริกแห้ง
หากเราได้รับแคลเซียมจากอาหารไม่เพียงพอ ควรจะต้องทานแคลเซียมเสริมโดยเฉพาะผู้สูงอายุนะคะ
หากอ่านมาถึงตรงนี้แล้วสงสัยกดลิงค์เข้ามาคุยกันได้นะคะ
FB: https://www.facebook.com/rukyaphama8/
Youtube https://www.youtube.com/@user-yl5kh1ik7m
บทความโดย ภญ.ยุพเรศ ภัทรอนันต์พงศ์