fbpx
Wednesday, 19 March 2025

ปวดประจำเดือน ปวดท้องเมนส์ เสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง รักษายังไง กินยาอะไร

23 Sep 2022
188

ปวดประจำเดือน ปวดท้องเมนส์ (Dymenorrhea) หมายถึง อาการปวดบริเวณท้องน้อยเมื่อมีประจำเดือน ส่วนใหญ่ของผู้หญิงที่มีประจำเดือนมักจะปวดประจำเดือน

อาการปวดประจำเดือนจะแบ่งออกเป็น  2 ชนิด

1.ปวดประจำเดือนชนิดปฐมภูมิ (primary dysmenorrhea) ส่วนมากจะเกิดกับเด็กสาวที่เริ่มมีประจำเดือนครั้งแรก หรือภายใน 3ปีหลังมีประจำเดือนครั้งแรก และอาการจะมีมากสุดช่วงอายุ 15-25 ปี และอาการจะดีขึ้นหลังแต่งงาน หรือหลังมีลูกแล้ว

ไม่มีความผิดปกติของมดลูกและรังไข่ แต่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนระหว่างมีประจำเดือน และมีการหลั่งพรอสตาแกลนดิน (prostaglandins) มากผิดปกติ ทำให้มดลูกบีบเกร็งตัวเลยมีอาการปวดที่ท้องน้อย

2.ปวดประจำเดือนชนิดทุติยภูมิ (secondary dysmenorrhea) จะมีอาการปวดรั้งแรกเมื่ออายุมากกว่า 25ปี โดยที่ก่อนหน้านี้ไม่มีอาการปวดประจำเดือนมาก่อนเลย

มักจะมีความผิดปกติของมดลูกหรือรังไข่ เช่น เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ ,เนื้องอกมดลูก,ปีกมดลูกอักเสบเรื้อรัง,มดลูกย้อยไปด้านหลังมาก

อาการของการปวดประจำเดือน

จะเริ่มมีอาการก่อนมีประจำเดือน อาการปวดก่อนมีประจำเดือนไม่กี่ชั่วโมง บางคนจะมีอาการปวดแค่วันแรกที่ประจำเดือนมา และจะหายปวดเมื่อมีก้อนเลือดหลุดออกมา แต่บางคนจะมีอาการปวดนาน 2-3วันแรกของประจำเดือนเลยทีเดียว ส่วนอาการอื่นนอกจากปวดบิดท้องน้อยเป็นพักๆ แล้วยังมีอาการ ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิด บ่งคนถ้าปวดรุนแรง อาจมีอาการเหงื่อออก มือเท้าเย็น ตัวเย็น

การรักษาอาการปวดประจำเดือน

1.ถุงน้ำร้อน หรือ แผ่นประคบร้อน

ปวดท้องประจำเดือน

2.ยาแก้ปวดลดอักเสบแบบไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เช่น Ibuprofen,Etoricoxib ควรกินก่อนมีประจำเดือน 48 ชั่วโมงและกิทุกวันจนเลือดประจำเดือนหยุดออก

3.ยาแก้ปวดบิดเกร็งท้อง (antispasmodic)  เช่น hyoscine

4.ถ้าคนที่มีอาการปวดทุกเดือนอาจจะต้องกินยาคุมกำเนิดแบบรายเดือน โดยให้ทานทุกวันไม่มีวันหยุดเพื่อไม่ให้มีการตกไข่ และให้ทานต่อเนื่องกันอย่างน้อย 3-4เดือน แล้วลองหยุดยาดูหากมีอาการปวดอีกก็กลับมาทานยาคุมกำเนิดใหม่นะคะ จนกว่าอาการปวดจะลดลง และช่วงระหว่างที่ทานยาคุมประจำเดือนจะไม่มาไม่ต้องตกใจนะคะ

5.หากมีอาการปวดประจำเดือนแบบทุติยภูมิ คือมีอาการปวดประจำเดือนช่วงอายุ 25ปีขึ้นไป หรือมีอการปวดมากหลังแต่งงาน ควรจะไปตรวจภายในที่โรงพยาบาลเพื่อหาสาเหตุและรักษาตามสาเหตุนั้น

หากอ่านมาถึงตรงนี้แล้วสงสัยกดลิงค์เข้ามาคุยกันได้นะคะ

FB: https://www.facebook.com/rukyaphama8/

บทความโดย ภญ.ยุพเรศ  ภัทรอนันต์พงศ์

เลขใบประกอบวิชาชีพ ภ.24887

ติดต่อได้เลยค่ะ