fbpx
Friday, 29 November 2024

มาดูวิธีดูว่าเราวัยทองรึยัง เช็คลิส พร้อมทั้งยารักษา

จะรู้ได้ยังไงว่าเราวัยทองรึยัง

วัยทองคืออาการที่เกิดขึ้นหลังประจำเดือนของผู้หญิงหยุดไปเป็นเวลา 12 เดือนต่อเนื่องกัน ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ในผู้หญิงวัย 40 – 50 ปีแต่โดยเฉลี่ยแล้วจะพบมากในผุ้หญิงอายุ 51 ปี

วัยทองนั้นเป็นอาการที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ อย่างไรก็ตามอาการที่ตามมาหลังจากวัยทอง เช่น ร้อนวูบวาบ หรือารมณ์แปรปรวนอาจจะรบกวนการนอนหลับ และส่งผลต่อสุขภาพจิตได้ ซึ่งวิธีการรักษาก็อาจทำได้ตั้งแต่ปรับพฤติกรรมบางอย่างหรือใช้ยาปรับฮอร์โมน ยาปรับฮอร์โมนมีทั้งยากิน แผ่นแปะ แบบฝัง แบบเจล

อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นจากวัยทอง

อาการวัยทอง

ในช่วงก่อนที่จะหมดประจำเดือน คุณอาจจะพบความผิดปกติหลายเกิดขึ้นกับตัวคุณเช่น

ประจำเดือนมาไม่ตรง

ช่องคลอดแห้ง

รู้สึกร้อนวูบวาบ

หนาวสั่น

เหงื่อออกตอนนอนหลับ

นอนไม่หลับ

อารมณ์แปรปรวน

น้ำหนักขึ้นและมีปัญหาการเผาผลาญลดลง

ผมบางและผิวแห้ง

หน้าอกหย่อนคล้อย

สัญญาณและอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นรวมทั้งประจำเดือนที่เริ่มมาไม่ตรงจะไม่แน่นอนแล้วแต่บุคคล อย่างไรก็ตามคุณจะพบอาการที่ระบุมาข้างต้นก่อนที่จะหมดประจำเดือน

อาการประจำเดือนขาดในช่วงวัยทองเป็นเรื่องที่พบได้เป็นปกติ โดยมากมักจะมาเดือนเว้นเดือนหรือหลายเดือนหลังจากนั้นก็จะกลับมาเป็นปกติสัก 2 – 3 เดือน นอกจากนี้ยังอาจพบอาการรอบเดือนมาติดกัน นอกจากรอบเดือนที่มาผิดปกติ ในช่วงนี้ผู้หญิงยังสามารถตั้งครรภ์ได้ด้วยฉะนั้นหากคุณพบว่ารอบเดือนขาด คุณควรพิจารณาตรวจการตั้งครรภ์ด้วย

เมื่อไหร่ที่ควรไปพบแพทย์

ในช่วงวัยนี้คุณควรพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คในเชิงป้องกันอยู่เป็นประจำ ซึ่งกรณีนี้อาจรวมถึงการตรวจคัดกรองต่างๆ ด้วยเช่น ตรวจมะเร็งหรือไทรอยด์

นอกจากนี้หากคุณพบอาการเลือดออกแม้จะหมดประจำเดือนแล้วคุณควรจะพบแพทย์ทันที

การรักษาอาการวัยทอง

อาการวัยทองนั้นหลักๆแล้วคืออาการที่ระดับฮอร์โมนบางตัวลดต่ำลง ฉะนั้นการรักษาคือ การใช้ตัวยาทดแทนฮอร์โมนที่ขาด (hormone replacement therapy หรือ HRT)

hormone replacement therapy (HRT)

การรักษาอาการวัยทองนั้นเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าค่อนข้างมีความปลอดภัยสูงและได้ผลค่อนข้างดี ซึ่งแพทย์ผู้ทำการรักษาจะอธิบายแนวทางการรักษาและความเสี่ยงให้รับทราบก่อนเสมอ

HRT นั้นเป็นการเสริมฮอร์โมนเอสโตรเจนทดแทนในส่วนที่ร่างกายผลิตได้น้อยลงซึ่งเป็นสาเหตุของอาการวัยทอง

ซึ่งการใช้จะต้องมีการควบคุมปริมาณอย่างเคร่งครัดเพื่อไม่ให้เกิดผลข้างเคียงไม่พึงประสงค์ และให้ได้ผลในการรักษาที่ดีที่สุด

ฮอร์โมนเอสโตรเจนที่นำมาใช้ก็จะมีหลายรูปแบบ เช่น

แผ่นแปะ

เจลหรือสเปรย์พ่นลงผิวหนัง

การฝัง

รับประทาน

ถ้าคุณมีมดลูก คุณอาจต้องการโปรเจสเตอโรนเพื่อปกป้องผนังมดลูกของคุณจากผลของเอสโตรเจนด้วย ซึ่งการใช้ ทั้ง เอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนจะเรียกว่า combine HRT

ซึ่งการใช้จะมาในรูปของ

แผ่นแปะที่มีเอสโตรเจนอยู่ด้วย

ห่วงใส่มดลูก(IUS)

รับประทาน

แต่ถ้าคุณมีความต้องการทางเพศที่ลดน้อยลงและการรักษาด้วย HRT ยังไม่สามารถช่วยได้คุณอาจจำเป็นต้องได้รับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนด้วย

ประโยชน์ของการรักษาด้วย HRT

HRT นั้นมีประโยชน์หลักคือลดอาการของวัยทอง ไม่ว่าจะเป็น ร้อนวูบวาบ, สมองล้า, ปวดข้อเข่า, อารมณ์แปรปรวน และมดลูกแห้ง

โดยอาการร้อนวูบวาบนั้นจะดีขึ้นภายใน 1 – 2 สัปดาห์หลังการรักษา ส่วนอาการอื่นๆเช่น อารมณ์แปรปรวนและมดลูกแห้งจะดีขึ้นหลังจากได้รับกการรักษาประมาณ 2 เดือน

นอกจากนั้นการได้รับ HRT ยังช่วยลดความเสี่ยงของโรคกระดูกพรุนและโรคหัวใจได้อีกด้วย

การใช้Testosterone เพื่อแก้ปัญหาสมรรถภาพทางเพศ

ปกติการได้รับ HRT จะช่วยเรื่องสมรรถภาพทางเพศด้วย แต่หากพบว่าอาการนี้ยังไม่ดีขึ้น คุณอาจจำเป็นต้องได้รับ Testosterone เพิ่มซึ่งมักมาในรูปแบบเจลหรือครีมทา โดยการใช้จะช่วยในเรื่องของอารมณ์,ความต้องการทางเพศ และ ช่วยให้ไม่เหนื่อยง่าย

Testosterone นั้นถูกผลิตจากรังไข่และจะผลิตน้อยลงเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น โดยปกติแล้วมันจะไม่ถูกใช้ในผู้หญิง แต่หากแพทย์มีความเห็นว่ามันอาจช่วยแก้ปัญหาสมรรถภาพทางเพศได้ก็อาจพิจารณาให้ใช้เช่นกัน

อย่างไรก็ตามมีรายงานถึงผลข้างเคียงของการใช้ Testosterone ที่อาจทำให้มีขนเพิ่มและมีสิวเพิ่มขึ้น

การใช้ Oestrogen เพื่อแก้ปัญหามดลูกแห้ง

โดยปกติแล้วอาการวัยทองมักจะนำมาซึ่งปัญหามดลูกแห้งซึ่งทำให้เกิดอาการไม่สบายตัวและมีอาการคันร่วมด้วย

ซึ่งกรณีนี้แพทย์อาจสั่งจ่าย Oestrogen ชนิดสอดในช่องคลอด ซึ่งอาจอยู่ในรูป เม็ด,ครีม หรือห่วงสอดก็ได้ ซึ่งนี่จะลดอาการไม่สบายตัวหรือแสบเวลาปัสสาวะของผู้มีอาการวัยทองลงได้

Oestrogen ประเภทนี้จะไม่เข้าสู่กระแสเลือด แต่จะอยู่แค่ภายนอกเท่านั้น จึงค่อนข้างมีความปลอดภัยและมีผลข้างเคียงน้อย คุณสามารถใช้มันได้ตลอดชีวิตเพราะส่วนมากอาการจากวัยทองมักจะกลับมาเมื่อคุณหยุดใช้ Oestrogen

วิธีใช้ยาเพิ่มเติมสามารถศึกษาได้จากเว็บไซต์บริษัทผู้ผลิตตามลิงค์นี้นะคะhttps://www.besins-healthcare.co.th/Product#product_02

หากอ่านมาถึงตรงนี้แล้วสงสัยกดลิงค์เข้ามาคุยกันได้นะคะ

FB: https://www.facebook.com/rukyaphama8/

บทความโดย ภญ.ยุพเรศ  ภัทรอนันต์พงศ์

เลขใบประกอบวิชาชีพ ภ.24887

ติดต่อได้เลยค่ะ