fbpx
Thursday, 5 September 2024

ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ ไข่ดัน เกิดจากอะไร อาการยังไง กินยาอะไร

ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ มักเกิดจาก

การติดเชื้อแบคทีเรียกลุ่ม สเตรปโตค็อกคัส และ สแตฟฟีโลค็อกคัส ซึ่งเชื้อนี้ลุกลามจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังบริเวณใกล้เคียง เช่น บาดแผลอักเสบ ผิวหนังอักเสบ

ต่อมน้ำเหลืองอักเสบมีอาการยังไง ?

ต่อมน้ำเหลืองอักเสบชนิดเฉียบพลัน จะมีอาการ

1.ต่อมน้ำเหลืองโต บวม และก็กดเจ็บ จะเป็นบริเวณผิวหนังหรืออวัยวะที่ใกล้เคียงกับบริเวณที่มีอาการอักเสบมาก่อน เช่น มีการอักเสบที่เท้าอาจทำให้ต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบอักเสบ หรือที่เรียกกันว่า ไข่ดัน ไขดันเป็นได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชายนะคะ  หรือว่าทอลซิลอักเสบอาจทำให้ต่อมน้ำเหลืองใต้คางอักเสบ

ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ ไข่ดัน

ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ ไข่ดัน

ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ ไข่ดัน

2.มีไข้สูง หนาวสั่น อ่อนเพลีย

หากพบต่อมน้ำเหลืองโตเหมือนๆกันในหลายบริเวณของร่างกาย ควรที่จะพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ ซึ่งอาจจะเป็นอาการของโรคเอดส์ ยิ่งหากเป็นนานเกิน 3 เดือนยิ่งตั้งตรวจนะคะ

ต่อมน้ำเหลืองอักเสบเรื้อรัง จะมีอาการ

1.ต่อมน้ำเหลืองมีอาการบวมเล็กน้อย ไม่เกิน 1 เซนติเมตร ค่อนข้างแข็ง กดไม่เจ็บ จับโยกไปมาได้ ส่วนใหญ่จะเกิดบริเวณใต้คาง ซึ่งมักจะเกิดจากฝันผุ หรือว่าเจ็บคอบ่อย หากเกิดที่ขาหนีบ มักจะเกิดจากมีการอักเสบที่เท้าบ่อยๆ

2.ต่อมน้ำเหลืองอักเสบเรื้อรัง มักจะคลำเจอก้อนเล็กๆ และเป็นนานเป็นปี หรือเป็นตลอดไป ที่สำคัญคือไม่เจ็บ ไม่ปวด แบบนี้ไม่อันตราย

ต่อมน้ำเหลืองอักเสบหากไม่รักษา เชื้ออาจจะลุกลามเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้โลหิตเป็นพิษ ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

ยาที่ใช้รักษาต่อมน้ำเหลืองอักเสบ

ต่อมน้ำเหลืองอักเสบเฉียบพลัน ใช้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เช่น dicloxacillin 500mg ทานครั้งละ 1 เม็ด ก่อนอาหาร ครึ่งชั่วโมง เช้า กลางวัน เย็น ก่อนนอน นาน 10 วัน

หากมีไข้ด้วยให้ทานยาแก้ปวดลดไข้เช่น พาราเซตามอล

ให้ประคบอุ่น และยกแขนขาส่วนที่อักเสบให้สูง

แต่หากไม่ดีขึ้นภายใน 3 วัน ควรไปพบแพทย์ เพราะอาจจะเกิดจากสาเหตุอื่น

ส่วนต่อมน้ำเหลืองอักเสบเรื้อรัง ไม่ต้องทานยารักษา แต่หากมีอาการติดเชื้อที่บริเวณไหนให้รักษาที่สาเหตุ เช่น แก้ไขปัญหาฟันผุ หรือคออักเสบ ให้ทานยารักษาหรือให้ไปหาหมอฟันเพื่อรักษาฟันผุนะคะ

หากอ่านมาถึงตรงนี้แล้วสงสัยกดลิงค์เข้ามาคุยกันได้นะคะ

ไข่ดัน

FB: https://www.facebook.com/rukyaphama8/

บทความโดย ภญ.ยุพเรศ  ภัทรอนันต์พงศ์

เลขใบประกอบวิชาชีพ ภ.24887

ติดต่อได้เลยค่ะ