fbpx
Friday, 21 March 2025

ปวดหัวจากความเครียด มีอาการยังไง กินยาอะไรหาย

ปวดหัวมีหลายๆแบบนะคะ หากว่าเรามีอาการปวดหัว เราต้องแยกอาการปวดหัวแต่ละแบบให้ออกนะคะว่าการปวดแบบไหนคือปวดหัวจากความเครียด

ปวดหัวจากความเครียดส่วนใหญ่จะเกิดกับผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก และเกิดกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชายค่ะ

สาเหตุของการปวดหัวจากความเครียด

ก็ตามชื่อเลยค่ะ เกิดจากการทำงานหนัก ใช้สมอง ใช้ความคิดมาก เครียด คิดมาก นอนไม่หลับ

อาการปวดหัวจากความเครียด

จะมีอาการปวดตื้อหนักๆ บริเวณท้ายทอย บางคนจะปวดตื้อๆทั่วหัว

อาการปวดหัวจากความเครียดส่วนใหญ่จะปวดช่วงบ่ายๆ เย็นๆ

อาการปวดหัวจากความเครียดจะมีอาการปวดไม่นาน และทุเลาลงเองได้ ถ้าได้พักผ่อน และ อาการปวดหัวจากความเครียดจะไม่มีอาการอื่นร่วมด้วย เช่นจะไม่มีอาการตาพร่ามัว ไม่คลื่นไส้อาเจียน แบบปวดไมเกรน และ ปวดหัวจากความเครียดจะไม่มีไข้ และมีอาการหวัดนะคะ

วิธีการรักษาอาการปวดหัวจากความเครียด

1.นวดต้นคอด้วยยาหม่อง หรือยาคลายกล้ามเนื้อแบบทา

หรือ ถ้าชอบร้อน เจลพริก capsika gel ได้นะคะ

2.กินยาคลายกล้ามเนื้อ  ให้ทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง หรือเฉพาะเวลามีอาการ ทานได้ไม่เกิน 8 เม็ด ต่อวัน และ ทานติดต่อกันได้ไม่เกิน 5 วัน

3.หากเครียดและนอนไม่หลับให้ทานยาช่วยนอนหลับได้ค่ะ

โดยอาจจะเริ่มจากยาแก้แพ้ที่มีผลข้างเคียงทำให้ง่วงนอน เช่นตัวยา hydroxyzine แต่หากยังไม่หลับอีกต้องปรึกษาคุณหมอเพื่อรับยาคลายเครียดเพื่อช่วยให้นอนหลับนะคะ

หากหลับแล้วยังตื่นมาระหว่างคืน หลับไม่สนิท ก็สามารถทาน สมุนไพรที่มีสารสกัดคาร์โมมายด์  เพื่อช่วยให้หลับลึกขึ้นนะคะ

4.หากมีอาการปวดหัวจากความเครียดเรื้อรังอาจจะเกิดจากความซึมเศร้า ก็ควรจะปรึกษาจิตแพทย์เพื่อที่จะรับยาแก้ซึมเศร้า เพื่อช่วยให้อาการดีขึ้น

แต่หากมีอาการปวดหัวรุนแรงนานเกิน 24 ชั่วโมง ,ปวดถี่ ปวดรุนแรงขึ้นทุกวัน ปวดมากตอนดึกหรือเช้ามืด จนทำให้สะดุ้งตื่น หรือปวดหัวเป็นๆ หายๆ โดยที่ไม่รู้ว่าเกิดจากอะไร ทั้งๆที่ไม่ได้เครียด ไม่ได้นอนน้อย แต่ว่ายังปวดนานเกิน 2สัปดาห์ หรืออาจจะสงสัยว่าเกิดจากสาเหตุที่ร้ายแรง เช่นโรคเนื้องอกในสมองในระยะแรก เพราะโรคเนื้องอกในสมองระยะแรกจะมีอาการปวดหัวไม่มาก ซึ่งคลายกับการปวดหัวจากความเครียด แต่ต่อมาจะมีการปวดหัวถี่ขึ้น และ รุนแรงขึ้น มักจะมีอาการปวดหัวตอนเช้าจนสะดุ้งตื่น และก็ปวดหัวเรื้อรัง ควรรีบไปตรวจหาสาเหตุที่แท้จริงที่โรงพยาบาลนะคะ

หากอ่านมาถึงตรงนี้แล้วสงสัยกดลิงค์เข้ามาคุยกันได้นะคะ

ไข่ดัน

FB: https://www.facebook.com/rukyaphama8/

บทความโดย ภญ.ยุพเรศ  ภัทรอนันต์พงศ์

เลขใบประกอบวิชาชีพ ภ.24887

ติดต่อได้เลยค่ะ