fbpx
Tuesday, 14 January 2025

กรดไหลย้อน รักษายังไงได้บ้าง ทั้งแบบใช้ยา และ ไม่ใช้ยา

หลังจากที่เรามั่นใจแล้วว่าเรามีอาการกรดไหลย้อน และอยากเริ่มที่จะรักษา ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีมากนะคะ เพราะถ้ารักษาเร็วก็จะหายเร็วนะคะ อย่าปล่อยให้เป็นเรื้อรังจนกรดไหลย้อนอาจจะเป็นสาเหตุของมะเร็งหลอดอาหารได้นะคะ

เริ่มดูการรักษากันเลยนะคะ และโบว์ขอแบ่งการรักษาเป็น 2 ส่วนนะคะ

ส่วนแรกคือการรักษาแบบไม่ใช้ยา นั่นคือการรักษากรดไหลย้อนโดยการปรับพฤติกรรมนั่นเอง

1.ห้ามทานชา กาแฟ น้ำอัดลม โกโก้ เหล้า เบียร์ ไวน์

2.ทานอาหารให้เป็นเวลา

3.ทานแล้วไม่เอนตัวนอนเลย ให้นั่งตัวตรงอย่างน้อย 3 ชั่วโมง

4.ไม่ใส่เสื้อผ้ารัดแน่นเกินไป

5.แนะนำให้นอนตะแคงซ้ายเนื่องจากรูปร่างของกระเพาะอาหารฝั่งซ้ายและขวาต่างกันการนอนตะแคงซ้ายโอกาสกรดที่จะไหลย้อนขึ้นมาน้อยกว่า

6.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

ส่วนที่ 2 คือการรักษากรดไหลย้อนโดยการใช้ยา

1. ยาลดกรด กลุ่ม PPIs เช่นตัวยา Omeprazole ,Lansoprazole,Rabeprazole,Esomeprazole

ตัวยากลุ่มนี้แนะนำให้รับประทานก่อนอาหารเช้าครึ่งถึง 1 ชั่วโมง เนื่องจากยาจะดูดซึมที่ทางเดินอาหารส่วนต้นแล้วจับตัวกับไฮโดรเจนเพื่อไปหยุดยั้งการหลั่งกรด โดยที่กินนานต่อเนื่อง 8 สัปดาห์ แต่หากว่าการรักษายังไม่ดีแนะนำให้ทานวันละ 2 ครั้งคือก่อนอาหารเช้า และเย็น

2. ยาลดอัตราการคลายตัวของหูรูด เนื่องจากกรดไหลย้อนมีการคลายตัวของหลอดอาหารส่วนล่างโดยที่เราไม่ได้กลืน ซึ่งยาตัวนี้จะเข้าไปลดจำนวนครั้งของการคลายตัว

เช่น ยาบาโคลเฟน แต่ยาตัวนี้ประสิทธิภาพไม่ดีเท่ายาในกลุ่ม PPIs

3. ยากระตุ้นการบีบตัวของหลอดอาหาร ปรับการทำงานของลำไส้ ช่วยกระตุ้นให้หลอดอาหารบีบตัวได้ดีขึ้น

เช่น Domperidone แต่ domperidone อาตตะมีโอกาสที่ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยเฉพาะผู้สูงอายุ

,Metoclopramide,Itopride  ,Mosapride

  1. ยาที่สร้างเมือกเคลือบกระเพาะ เช่นตัวยา sucrafate
  2. ยากลุ่มระงับอาการ เช่น ยากลุ่มแอลจิเนต หรือ Algycon เหมาะกับผู้ที่มีอาการไม่บ่อย ออกฤทธิ์เร็ว และปลอดภัยในคนท้อง

6.ยารักษาอาการซึมเศร้า ยากลุ่มนี้จะใช้ในผู้ที่มีอาการกรดไหลย้อน แต่ไม่มีกรดไหลย้อนขึ้นมาในหลอดอาหาร แต่จะใช้ในกลุ่มที่มีประสาทรับความรู้สึกไวเกิน คือมีกรดเพียงเล็กน้อยไหลเข้าไปในหลอดอาหารก็ทำให้กรดไหลย้อนได้ ซึ่งจะส่วนใหญ่จะเกิดจากความเครียด ยานี้ช่วยให้ผู้ป่วยรับรู้ถึงกรดช้าลง

7.สมุนไพรรักษากรดไหลย้อน เช่น ขมิ้นชัน,กล้วยดิบ

หากอ่านมาถึงตรงนี้แล้วสงสัยกดลิงค์เข้ามาคุยกันได้นะคะ

FB: https://www.facebook.com/rukyaphama8/

บทความโดย ภญ.ยุพเรศ  ภัทรอนันต์พงศ์

เลขใบประกอบวิชาชีพ ภ.24887

ติดต่อได้เลยค่ะ