เบาหวานขณะตั้งครรภ์ หมายถึง โรคเบาหวานหรือความผิดปกติของความทนต่อกลูโคสที่ได้รับการวินิจฉัยครั้งแรกขณะตั้งครรภ์พอคลอดแล้วจะหายได้ แต่อาจเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในอนาคต การรักษาต้องฉีดอินซูลิน insulin เท่านั้น
เกณฑ์ที่ใช้วินิจฉัยว่าเป็นเบาหวาน
สมาคมเบาหวานแห่งสหรัฐอเมริกา แนะนำให้ใช้ค่า fasting plasma glucose (FPG) เท่ากับหรือมากกว่า 126 mg/dl
1.มีอาการเบาหวานร่วมกับน้ำตาลในพลาสมาเวลาใดก็ตามมีค่ามากกว่า 200mg/dL อาการของโรคเบาหวานได้แก่ ดื่มน้ำมาก กินจุ และปัสสาวะมาก
2.ระดับน้ำตาลในพลาสมาขณะอดอาหาร(FPG) มากกว่าหรือเท่ากับ 126 mg/dl (ขณะอดอาหาร หมายถึง การงดรับประทานอาหาร หรือเครื่องดื่มที่ให้พลังงานอย่างน้อย 8 ชม.)
3.ระดับน้ำตาลในพลาสมาที่ 2 ชั่วโมงหลังการตรวจ 75 กรัม OGTT (oral glucose tolerance test ) มากกว่าหรือเท่ากับ 200mg/dl
การรักษาเบาหวานขณะตั้งครรภ์
ให้รักษาโดยการฉีดอินซูลิน ซึ่ง อินซูลินเป็นฮอร์โมนที่ตับอ่อนสร้างขึ้น และจำเป็นในการนำน้ำตาลในเลือดไปยังเนื้อเยื่อต่างๆทั่วร่างกายที่ต้องการพลังงาน แต่ในผู้ป่วยเบาหวาน การสร้างเซลล์ต่างๆในร่างกาย ไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดที่ได้จากการเปลี่ยนแปลงจากอาหาร ไปใช้ให้เป็นพลังงานได้อย่างเต็มที่ เพราะขาดฮอร์โมนอินซูลิน จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ ระดับน้ำตาลในเลือดสูง
เบาหวานขณะตั้งครรภ์จะมีอาการปวดปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำ อ่อนเพลีย มีโรคแทรกซ้อนง่าย เช่น โรคติดเชื้อ เป็นแผลหายยาก โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไต และโรคตา
การรักษาโดยไม่ใช้ยา
1.ควบคุมอาหาร
ลดอาหารที่มีน้ำตาลสูงทุกชนิด เช่นน้ำผึ้ง เยลลี่ ผลไม้หวานจัด เช่น องุ่น ขนุน เป็นต้น
ลดอาหารที่มีไขมันหรือคลอเลสเตอรอลสูง และเลี่ยงแอลกอฮอล์
คุมน้ำหนักเพื่อคุมการใช้อินซูลิน และ ลดอาการแทรกซ้อน
หากถึงมื้ออาหารแต่ไม่หิวควรทานผลไม้หรือขนมตามเวลาทานอาหารเดิมไปก่อน
2.ออกกำลังกาย ต้องสัมพันธ์กับอาหารและอินซูลินที่ได้ แต่ต้องออกกำลังกายมากกว่าปกติ ควรรับประทานของว่างประเภทแป้งและโปรตีนเพิ่มมากขึ้น
หากอ่านมาถึงตรงนี้แล้วสงสัยกดลิงค์เข้ามาคุยกันได้นะคะ
FB: https://www.facebook.com/rukyaphama8/
สามารถติดตามหมอยาอยากเล่าได้ทาง youtubehttps://www.youtube.com/channel/UCVFagi33TD86ZSaWsPUXwew
บทความโดย ภญ.ยุพเรศ ภัทรอนันต์พงศ์