ปากนกกระจอกส่วนใหญ่จะพบในฤดูร้อน และจะเกิดกับเด็กที่กินผักใบเขียวน้อย และผู้ป่วยเรื้อรัง สำหรับผู้ใหญ่ก็เป็นปากนกกระจอกได้นะคะ แต่จะเกิดขึ้นน้อยกว่าเด็ก ยกเว้นผู้ใหญ่ที่ทานผัก ผลไม้ ทานข้าวขัดสี แต่หากทานข้าวกล้อง ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่จะไม่ค่อยพบว่าเป็นโรคปากนะกระจอกเลย ปากนกกระจอกเป็นโรคที่ไม่ร้ายแรง แต่เป็นโรคที่บ่งบอกว่าผู้ที่เป็นโรคปากนกกระจอกเป็นผู้ที่มีภาวะขาดสารอาหาร
สาเหตุของการเป็นโรคปากนกกระจอก
คือเกิดจากการขาดวิตามิน บี2
อาการของโรคปากนกกระจอก
1.จะมีอาการแผลเปื่อย มีอาการอักเสบของมุมปากทั้ง 2 ข้าง
2.มีอาการอักเสบของเยื่อบุริมฝีปาก ทำให้ริมฝีปากบางลงและแตกเป็นร่อง
การรักษาโรคปากนกกระจอก
กินวิตามินบี2 หรือ วิตามินบีรวม วันละ 1-3 เม็ด มักจะได้ผลภายในไม่กี่วัน
หากเป็นผู้ที่ทานผักใบเขียว ถั่ว นม เนื้อสัตว์ ไข่แดง ตับ น้อย สามารถทานวิตามิน บี รวมทุกวันได้นะคะ วิตามินบี เป็นวิตามินละลายในน้ำ สามารถขับออกทางปัสสาวะ ไม่ได้อันตรายอะไรค่ะ
วิตามินบีรวมมีหลายยี่ห้อนะคะ สำหรับเด็กเช่น mamarine kids มี 3 สูตรใช้ได้ทุกสูตรนะคะ
https://shopee.prf.hn/l/rwLPMkG
https://shopee.prf.hn/l/7YRAOWy
https://shopee.prf.hn/l/7D9OwpZ
ส่วนของผู้ใหญ่ เช่น blackmore exec b,mega nat b,berroccaแบบเม็ดฟู่ สำหรับคนที่ไม่ชอบกลืนเม็ดยา คนที่กินยายาก
โรคปากนกกระจอกนี้สามารถป้องกันได้โดยการกินวิตามินบีจากธรรมชาติ เช่น จากผักใบเขียว ถั่ว นม เนื้อสัตว์ ไข่แดง ตับ
วิตามินบีจากธรรมชาติที่ดีที่สุดก็คือ จากข้าวกล้อง
ขอพูดถึงประโยชน์ของข้าวกล้องหน่อยนะคะว่านอกจากจะช่วยป้องกันและรักษาโรคปากนกกระจอกได้แล้วยังมีประโยชน์อะไรบ้างคะ
1.แก้ท้องผูก ช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น ป้องกันมะเร็งลำไส้ เพราะมีวิตามินบี 2
2.แก้อาการเหน็บชา เพราะมีวิตามินบี 1
3.ป้องกันโรคโลหิตจาง เพราะมีธาตุเหล็ก
4.ช่วยบำรุงสมอง ข่วยให้ระบบประสาททำงานดีขึ้น
5.ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย กล้ามเนื้ออ่อนแรง เนื่องจากมีวิตามินบี 1 และ วิตามินบี 2
6.บรรเทาอาการนอนไม่หลับ
7.บรรเทาอาการหอบหืด
8.ลดโอกาสจะเป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน มะเร็งลำไส้ใหญ่
แต่หากจะให้ดียิ่งขึ้นแนะนำทาน ข้าวกล้อง กข 43 เพราะจะมีดัชนีน้ำตาลต่ำกว่าข้าวกล้องธรรมดานะคะ
หากอ่านมาถึงตรงนี้แล้วสงสัยกดลิงค์เข้ามาคุยกันได้นะคะ
สอบถามเพิ่มเติม Line@ : https://line.me/R/ti/p/%40mvi8178v
FB: https://www.facebook.com/rukyaphama8/
สามารถติดตามหมอยาอยากเล่าได้ทาง youtubehttps://www.youtube.com/channel/UCVFagi33TD86ZSaWsPUXwew
บทความโดย ภญ.ยุพเรศ ภัทรอนันต์พงศ์
แหล่งข้อมูล ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป นายแพทย์สุรเกียรติ อาชานานุภาพ