fbpx
Sunday, 1 September 2024

ไส้ติ่งอักเสบ อาการเป็นยังไง สาเหตุเกิดจากอะไร รักษายังไง

หากใครที่สงสัยว่าปวดท้องจากไส้ติ่งอักเสบ จะปวดท้องน้อยด้านขวาหรือด้านซ้าย ลองอ่านบทความนี้ดูนะคะ

ไส้ติ่งอักเสบ

สาเหตุของไส้ติ่งอักเสบ

ไส้ติ่งอักเสบเกิดจากมีเศษอุจจาระแข็งๆตกลงไปอุดภายในรูของไส้ติ่ง จนทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย อักเสบรุนแรง ในที่สุดเนิ้อไส้ติ่งเน่าแบะทำให้ไส้ติ่งแตกทะลุได้

จะรู้ได้ยังไงว่าเป็นไส้ติ่งอักเสบ?

ไส้ติ่งอักเสบจะมีอาการปวดท้องมาก แรกๆอาจจะปวดรอบสะดือคล้ายโรคกระเพาะหรือท้องเดิน กินยาแก้ปวดอะไรก็ไม่หายปวด ต่อมาจะมีอาการปวดท้องน้อยด้านขวา ปวดเสียดตลอดเวลา เวลาเคลื่อนไหวตัวก็จะปวดมาก บางคนเดินงอตัวก็จะรู้สึกดีขึ้น อากราปวดท้องติดต่อกันนานเกิน 6 ชั่วโมง มีอาการคลื่นไส้อาเจียน และมีไข้ต่ำๆ (37.5-38 องศาเซียส) แต่หากเป็นในเด็ก อาการอาจจะไม่ชัดเจนเหมือนผู้ใหญ่ เช่นอาจจะปวดทั่วท้อง ไม่ได้เฉพาะปวดท้องน้อยด้านขวา

วิธีตรวจว่าเป็นไส้ติ่งอักเสบด้วยตัวเองง่ายๆก็คือ

หากมีอาการปวดท้องหรือมีอาการท้องผูก ให้ลองกดตรงบริเวณท้องน้อยด้านขวาหากว่ากดแล้วมีอาการปวดท้องน้อยด้านขวามากๆ ให้สงสัยเลยว่าเป็นไส้ติ่งอักเสบ ให้รีบไปโรงพยาบาลเพื่อตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ให้ละเอียดนะคะ แต่ว่าอาการปวดท้องน้อยด้านขวานอกจากไส้ติ่งอักเสบแล้ว ยังมีสาเหตุอื่นๆอีกนะคะ เช่น

1.นิ่วในท่อไต

2.ปีกมดลูกอักเสบ

3.ปวดประจำเดือน

4.ครรภ์นอกมดลูก

ดังนั้นหากปวดท้องท้องผูกบ่อยๆ ปวดท้องแบบอยากถ่ายระวังนะคะ อย่าเพิ่งใช้ลูกสวน unison สวนทวารหนักนะคะ เพราะว่าหากเป็นไส้ติ่งอักเสบอาจจะทำให้ใส้ติ่งแตกได้เลยนะคะ

ถ้าไส้ติ่งแตก จะมีอาการปวดเจ็บทั่วท้องน้อย ท้องแข็ง อาจคลำเจอก้อน และมีไข้สูง

วิธีการรักษาไส้ติ่งอักเสบ

ไส้ติ่งอักเสบ

มีวิธีเดียวคือการผ่าตัดเอาไส้ติ่งออก ถ้าหากเราไม่ผ่าออก ไส้ติ่งกลายเป็นเนื้อเน่าแตกลามทั่วท้อง กลายเป็นเยื่อบุช่องท้องอักเสบ อันตรายมากอาจถึงตายได้

สรุปง่ายๆคือ ระยะแรกหากมีอาการปวดใต้ลิ้นปี่หรือรอบๆสะดือ คล้ายโรคกระเพาะ กินยาแก้โรคกระเพาะแล้วไม่ดีขึ้น แต่กลับปวดรุนแรงขึ้น หรือมีอาการปวดท้องน้อยด้านขวา ให้นึกถึงไส้ติ่งอักเสบไว้ก่อนเลย หากยังมีอาการปวดต่อเนื่องเกิน 6 ชั่วโมง ทานยาแก้ปวดก็ไม่หาย แนะนำให้รีบไปโรงพยาบาล ให้เร็วที่สุด งดน้ำ งดอาหาร เพื่อเตรียมตัวผ่าตัด

หากอ่านมาถึงตรงนี้แล้วสงสัยกดลิงค์เข้ามาคุยกันได้นะคะ

ไข่ดัน

FB: https://www.facebook.com/rukyaphama8/

บทความโดย ภญ.ยุพเรศ  ภัทรอนันต์พงศ์

เลขใบประกอบวิชาชีพ ภ.24887

ติดต่อได้เลยค่ะ