โรคซึมเศร้านั้นเป็นปัญหาสำคัญที่พบมากในปัจจุบัน โดยโรคซึมเศร้านอกจากต้องได้รับยาเพื่อการรักษาแล้วเรายังสามารถใช้อาหารที่เหมาะสมเพื่อเสริมการรักษาให้ดียิ่งขึ้นได้ด้วยค่ะ อยากรู้ว่ามีอะไรบ้างลองดูตามนี้เลย
1 – บลูเบอร์รี่
บลูเบอร์รี่มีคุณสมบัติสำคัญในการต้านอนุมูลอิสระและยังสามารถช่วยลดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นซึ่งทำให้เกิดอาการเครียดอันเป็นปัญหาสำคัญของโรคนี้ พวกมันยังช่วยในการสร้างเซลล์ร่างกายใหม่ๆซึ่งเป็นทางหนึ่งในการรักษาโรคด้วย
2– กล้วย
อุดมไปด้วยสารทริปโตเฟนซึ่งจะถูกแปลงเป็น 5-HTP โดยสมอง จากนั้นจึงถูกเปลี่ยนเป็นสารสื่อประสาทเชิงบวก เช่น เซโรโทนินและเมลาโทนิน ซึ่งมีฤทธิ์ในการลดความตึงเครียด
3– อัลมอนด์
อัลมอนด์เป็นอาหารที่อุดมไปด้วยแมกนีเซียมซึ่งแมกนีเซียมได้รับการวิจัยในปี 1968 ว่าสามารถลดอาการหงุดหงิดและอาการซึมเศร้าได้ ฉะนั้นคุณจึงควรทานอัลมอนด์ประมาณ 1 กำมือทุกวัน
4 – อะโวคาโด
อะโวคาโดมีโพแทสเซียมสูงถึง 485 มก./100 กรัมและแร่ธาตุนี้ได้รับการยืนยันว่าสามารถใช้ในการอาการเครียดและภาวะซึมเศร้าได้ ดังนั้นคุณควรพยายามกินอะโวคาโดให้ได้ทุกวันอย่างน้อยวันละ 1 ลูก
5 – หน่อไม้ฝรั่ง
หน่อไม้ฝรั่งอุดมไปด้วยกรดโฟลิกและวิตามินบีซึ่งมีส่วนช่วยในการแปลงทริปโตเฟนเป็นเมลาโทนิน ซึ่งเป็นสารที่ทำให้ร่างกายผ่อนคลายลดตึงเครียด
6 – ช็อคโกแลต
ช็อกโกแลตหรือโกโก้นั้นช่วยเพิ่มระดับของสารเซโรโทนินและโดปามีนในสมองซึ่งทำให้เรารู้สึกผ่อนคลาย ขณะเดียวกันยังช่วยลดระดับคอร์ติซอลซึ่งเป็นสารสื่อประสาท ที่ทำให้เกิดความเครียด พยายามทานให้ได้ประมาณวันละ 40 กรัมต่อวัน
7 – ผักโขม
ผักโขมมีโฟลิกมากกว่าผักใบเขียวชนืดอื่น ๆ และคนที่เป็นโรคซึมเศร้ามักจะขาดมัน นอกจากนี้กรดโฟลิกยังมีส่วนช่วยเพิ่มระดับโดปามีนและเซโรโทนินในสมอง แถมยังอุดมไปด้วยแมกนีเซียมซึ่งเพิ่มประสิทธิภาพของยากล่อมประสาทอีกด้วย
8 – ปลาแซลมอน
ปลาแซลมอนอุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งทำให้เยื่อหุ้มเซลล์นุ่มลงและมีส่วนในการทำให้เซโรโทนินส่งไปถึงสมองได้ดีขึ้น ซึ่งถ้ามีการใช้ยาลดความเครียดก็จะสามารถช่วยให้ยาออกฤทธิ์ได้ดีในขณะที่ลดผลข้างเคียงลงได้ด้วย
9 – ชาเขียว
ชาเขียวถูกใช้ในการรักษาอาการซึมเศร้ามานานนับพันปีแล้ว มันมีสารโพลีฟีนอลซึ่งมีส่วนช่วยเพิ่มปริมาณโดปามีนในสมองและเพิ่มประสิทธิภาพของอินซูลินซึ่งทำให้ปริมาณน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดสม่ำเสมอลดอาการอ่อนล้าของสมองลง
หากอ่านมาถึงตรงนี้แล้วสงสัยกดลิงค์เข้ามาคุยกันได้นะคะ
FB: https://www.facebook.com/rukyaphama8/
บทความโดย ภญ.ยุพเรศ ภัทรอนันต์พงศ์