fbpx
Friday, 29 November 2024

เป็นเบาหวาน ต้องรู้ !!! การดูแลเท้าสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

เหตุผลที่ผู้ป่วยเบาหวานจะต้องดูแลเท้ามากเป็นพิเศษ เนื่องจากว่าประสาทรับความรู้สึกของผู้ป่วยเบาหวานจะทำงานได้ไม่ดีนัก โดยเฉพาะประสาทรับรู้เกี่ยวกับความเจ็บป่วย การถูกกดทับ หรือจากความร้อนความเย็น ความเสื่อมนี้อาจจะค่อยๆเป็นโดยที่ผู้ป่วยเบาหวานไม่ทันได้สังเกต ทำให้เวลามีแผลที่เท้าเล็กน้อย เช่นโดนรองเท้ากัด หรือ ถูกของมีคมตำ หากปล่อยทิ้งไว้ จนแผลใหญ่ขึ้น หรือมีการติดเชื้อขึ้นได้  หากไม่รักษาผู้ป่วยเบาหวานอาจจะต้องถูกตัดเท้าหรือขาได้

วิธีการดูแลเท้า

1.วิธีที่ดีที่สุดคือ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี

การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีจะช่วยลดถาวะแทรกซ้อนเช่น โรคไต ประสาทตาเสื่อม เส้นประสาทรับความรู้สึกเสื่อม วิธีที่จะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดวิธีหนึ่งก็คือการออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายอย่างน้อยครั้งละ 1 ชั่วโมง อาทิตย์ละ 3-4 ครั้ง และควรงดสูบุหรี่เพราะจะไปทำลายเส้นเลือด

2.เลือกรองเท้า

ให้เลือกรองเท้าที่ไม่คับหรือหลวมจนเกินไป จนเสียดสีให้เกิดแผล และตอนบ่ายเท้าจะบวมขึ้นเล็กน้อย ควรเปลี่ยนใส่รองเท้าที่หลวมขึ้น

3.ตรวจดูเท้าทุกวัน

ตรวจเท้าทั้งฝ่าเท้าและส้นเท้าว่ามีอาการบวม ปวด มีแผล มีเม็ดพอง หรือไม่ หากมีควรปรึกษาแพทย์ทันที

หากผิวที่เท้าแห้ง อาจทำให้คัน มีการเกาจนเป็นแผล ติดเชื้อได้ ควรทา urea บริเวณผิวที่แห้ง เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น แต่ห้ามทาบริเวณซอกนิ้วเท้า เพื่อป้องกันการหมักหมม จากการล้างเท้าไม่สะอาดทำให้เกิดเขื้อราได้

4.ตรวจดูเล็บเท้าเสมอว่ามีเชื้อราที่เล็บหรือไม่

หากเป็นเชื้อราที่เล็บตามรูปด้านล่าง  แนะนำปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์เพื่อทานยาฆ่าเชื้อรา

5.ไม่ควรล้างหรือแช่เท้าในน้ำอุณหภูมิสูงกว่า 37 องศา

ควรใช้ปรอทวัดอุณหภูมิ ไม่ควรใช้มือเนื่องจากประสาทรับความรู้สึกอาจจะเสื่อม น้ำอาจจะร้อนทำให้พองเป็นแผลได้

6.ควรเช็ดเท้าให้แห้งสนิทเสมอ หากเหงื่ออกเท้าเยอะควรเปลี่ยนถุงเท้าบ่อยๆ และควรใช้ถุงเท้าที่ทำจากผ้าฝ้ายนุ่มๆ ไม่ใช้ถุงเท้าที่ทำจากไนล่อนหรือถุงเท้าที่รัดมาก

7.ไม่ควรเดินเท้าเปล่าทั้งในและนอกบ้าน

8.ไม่ควรใช้อุปกรณ์ใดๆหรือสารเคมีกับเท้า เช่นตะไบ มีดโกน

9.ตรวจดูรองเท้าให้ดีก่อนสวมใส่ เพราะในรองเท้าอาจมีเศษกรวด ตะปู อาจทิ่มเท้าได้

10.ควรตัดเล็บเท้าสม่ำเสมอ และควรตัดเป็นเส้นตรง อย่าตัดสั้นเกินไป หรือ ตัดเล็บโค้งเข้าจมูกเล็บ ถ้ามองไม่ชัดควรให้ผู้อื่นตัดให้

11.ถ้ามีผิวหนังหนา หรือ ตาปลา ควรได้รับการตัดให้บางโดยแพทย์ผู้ชำนาญ ทุก 6-8 สัปดาห์

12.สำคัญ! หากมีบาดแผลเกิดขึ้น ต้องรีบรักษาโดยเร็วที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้ลุกลาม

หากคุณอ่านแล้วมีประโยชน์ อยากแชร์ให้คนที่คุณรู้จักที่เป็นเบาหวานอ่าน กดปุ่มแชร์ได้เลยนะคะ

หากอ่านมาถึงตรงนี้แล้วสงสัยกดลิงค์เข้ามาคุยกันได้นะคะ

FB: https://www.facebook.com/rukyaphama8/

Youtube https://www.youtube.com/@user-yl5kh1ik7m

บทความโดย ภญ.ยุพเรศ  ภัทรอนันต์พงศ์

เลขใบประกอบวิชาชีพ ภ.24887

ติดต่อได้เลยค่ะ