ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับ “ยาแก้อักเสบ” ที่ทุกคนมักเรียกกันก่อนนะคะ ยาแก้อักเสบมี 2 แบบ คือยาแก้อักเสบแบบติดเชื้อ และ ยาแก้อักเสบแบบไม่ติดเชื้อ แต่ยาแก้อักเสบที่คนส่วนใหญ่เรียกกันก็คือ ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย หรือ ยาปฎิชีวนะนั่นเอง
และการที่คนเราจะดื้อยาได้นั่นก็เกิดจากการกินยาฆ่าเชื้อไม่ครบตามที่แพทย์หรือเภสัชกรสั่ง ซึ่งยาแต่ละตัวจะมีโดสยาที่ต่างกัน
เราควรที่จะกินให้ครบตามที่แพทย์หรือเภสัชกรจ่ายยามาให้นะคะ
เวลาที่เราทานยาเข้าไป ยาก็จะเข้าไปฆ่าเชื้อแบคทีเรียนั้นได้ แต่ถ้าเราทานไม่สม่ำเสมอ ไม่ต่อเนื่องกัน พอหายก็หยุดยาเอง ยาส่วนนึงที่เข้าไปก็ลดปริมาณเชื้อลง อาการก็เริ่มดีขึ้น แต่ยาก็ไม่เพียงพอที่จะทำให้โรคหาย หรือเชื้อหมดไป เชื้อจะแบ่งตัวเพิ่มจำนวนอีกแล้วเกิดการเป็นซ้ำ ซึ่งทำให้เกิด “การดื้อยา” ได้
พอครั้งหน้าเรามีการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อแบคที่เรียที่เปลี่ยนแปลงพันธุกรรมไปหลังจากที่เราทำให้มันดื้อยา ตัวเชื้อพวกนี้ก็ไม่สามารถฆ่าได้ด้วยยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียตัวเดิม ทำให้เราต้องใช้ยาที่แรงขึ้น หรือ เปลี่ยนกลุ่มของยาฆ่าเชื้อ แต่สิ่งที่น่ากลัวและคนส่วนใหญ่อาจจะลืมตระหนักถึงไปนั่นก็คือ หากเรามีการติดเชื้อแบคทีเรียที่รุนแรง แต่ว่าเราใช้ยาที่แรงที่สุดในการรักษาเชื้อที่เราเคยดื้อยามาจนหมดแล้ว นั่นก็หมายความว่าเราไม่มียาฆ่าเชื้อที่จะสามารถฆ่าเชื้อโรคที่รุนแรงนี้ได้
ดังนั้นขอให้ทุกคนตระหนักถึงการใช้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ให้ใช้เมื่อจำเป็น ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา เพื่อที่ประเมิณการแพ้ยาและใช้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ถูกกับโรคที่เป็น และทานยาให้ครบตามที่แพทย์หรือเภสัชกรสั่งนะคะ
หากอ่านมาถึงตรงนี้แล้วสงสัยกดลิงค์เข้ามาคุยกันได้นะคะ
FB: https://www.facebook.com/rukyaphama8/
บทความโดย ภญ.ยุพเรศ ภัทรอนันต์พงศ์