fbpx
Saturday, 15 March 2025

มาทำความรู้จักกับวิธีคุมกำเนิดแบบต่างๆ วิธีคุมกำเนิดมีแบบไหนบ้าง

31 May 2019
2712

สวัสดีค่ะ วันนี้หมอยาอยากเล่าอยากจะมาเล่าถึงวิธีการ คุมกำเนิด แบบต่างๆ ทั้งคุมกำเนิดแบบถาวรและชั่วคราวว่ามีกี่วิธี (เอาแต่วิธีที่นิยมกันนะคะ) แต่ละวิธีมีข้อดี ข้อเสียอย่างไร เพื่อให้เพื่อนๆได้เลือกวิธีที่เหมาะกับตัวเองมากที่สุดนะคะ

หลังจากที่ผ่านมาๆมาเราพูดกันถึงแต่ยาคุมกำเนิดแบบรายเดือนซึ่งก็เป็นวิธีคุมกำเนิดรูปแบบหนึ่งเท่านั้น

เรามาเริ่มจากการคุมกำเนิดแบบถาวร หรือการทำหมันนั่นเอง  การคุมกำเนิดแบบนี้ก็ง่ายๆค่ะ ทำได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชายโดยที่ผู้ชายเราจะทำการผูกตัดที่ท่ออสุจิ ส่วนถ้าเป็นผู้หญิงเราจะผูกตัดที่ท่อนำไข่ วิธีนี้เป็นการคุมกำเนิดที่ดีที่สุดแต่ก็ต้องปรึกษากันให้ดีก่อนนะคะ  ว่าจะไม่มีลูกอีกแล้ว ปกติถ้าผ่าคลอดแต่ว่าเพิ่งมีลูกคนแรก คุณหมอจะไม่ได้ถามเรื่องของการทำหมันนะคะ แต่ถ้าเรามีลูกหลายคนแล้วก็สามารถบอกให้หมอทำหมันได้เลยจ้า

ส่วนการคุมกำเนิดแบบชั่วคราวก็คือการขวางกั้นไม่ให้สเปิร์มเจอกับไข่ทำได้หลายวิธีเลยนะคะ  ตามมาดูเลยค่ะว่ามีวิธีไหนบ้าง

  1. การใช้ถุงยางอนามัยคุมกำเนิด

 ข้อห้ามใช้

  • ผู้ที่แพ้ latex หรือยาง แต่ตอนนี้มีถุงยางที่ทำมาสำหรับผู้ที่แพ้ latex แล้วนะคะ หากแพ้ควรเลือกใช้ถุงยางสำหรับผู้แพ้ยางโดยเฉพาะนะคะ

ข้อดี

  • ราคาไม่แพง
  • ป้องกันโรคที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ด้วยคุมกำเนิด
  • และไม่จำเป็นต้องพบแพทย์ สามารถซื้อใช้เองได้เลย

ข้อเสีย

  • มีอัตราการล้มเหลวจากการคุมกำเนิดวิธีนี้ค่อนข้างสูง เพราะว่าอาจลืมใส่ หรือไม่ได้รับความร่วมมือในการคุมกำเนิดโดยวิธีนี้
  • อาจเกิดการฉีกขาดหรือรั่ว
  • อาจเกิดการแพ้ latex หรือยางได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิงคุมกำเนิด
  1. Combined oral contraceptives คือ ยาคุมกำเนิดที่เรารู้จักกัน เป็นยาคุมสูตรผสมระหว่างเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน วิธีนี้เป็นวิธีคุมกำเนิดที่มีอัตราการล้มเหลวน้อยที่สุด

    คุมกำเนิด

ข้อห้ามใช้

  • ผู้ที่มีเนื้องอกที่ตับ
  • เป็นหรือมีประวัติเป็นโรคลิ่มเลือดอุดหลอดเลือด
  • โรคหลอดเลือดสมองหรือโรคหลอดเลือดหัวใจ
  • ผ้ที่ได้รับการวินิจฉัยหรือสงสัยว่าเป็นมะเร็งเต้านม
  • ผู้ที่มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดที่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัย
  • ผู้ที่มีประวัติเป็นดีซ่านในขณะตั้งครรภ์หรือจากการใช้ยาคุมกำเนิด

ข้อดี

  • ลดความเสี่ยงในการเกิดอุ้งเชิงกรานอักเสบ มะเร็งของรังไข่ หรือมะเร็งของเยื่อบุโพรงมดลูก
  • อัตราการเกิดปีกมดลูกอักเสบ และการตั้งครรภ์นอกมดลูกน้อย
  • อาจมีผลเพิ่มความหนาแน่นของกระดูก
  • ทำให้ภาวะสิวหรือขนดกดีขึ้น
  • ทำให้อาการเกี่ยวข้องกับการมีประจำเดือนดีขึ้น เช่น ตะคริวในช่องท้อง ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก หรืออาการปวดประจำเดือน

ข้อเสีย

  • เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคเนื้องอกในตับชนิดที่ไม่ร้ายแรง
  • เพิ่มความเสี่ยงเล็กน้อยต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดหลอดเลือด หรือโรคหลอดเลือดสมอง
  • อาจเพิ่มความดันโลหิต
  • อาจเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากเอสโตรเจน เช่น คลื่นไส้ เจ็บคัดเต้านม การคั่งของน้ำในร่ายกาย แต่ข้อนี้แก้โดยเลือกยาคุมที่มีระดับเอสโตรเจนต่ำ
  • อาจเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากโปรเจสเตอโรน เช่น เป็นสิว ความอยากอาหารเพิ่มขึ้น อาการซึมเศร้า
  • อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายในสตรีที่มีอายุมากหรือสูบบุหรี่
  1. Progestin only oral contraceptives คือยาคุมที่มีแต่ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน เหมาะกับแม่ที่ยังให้นมลูกและต้องการคุมกำเนิดคุมกำเนิด

ข้อห้ามใช้

  • ผู้ที่มีเลือดออกผิดปกติจากช่องคลอดซึ่งยังไม่ได้รับการวินิจฉัย

ข้อดี

  • อาจใช้ในหญิงให้นมบุตร หรือผู้ที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคของระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • หลีกเลี่ยงอาการไม่พึงประสงค์ของเอสโตรเจน
  • สามารถป้องกันการเกิดปีกมดลูกอักเสบ ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก และอาการปวดประจำเดือน

ข้อเสีย

  • อาจเกิดภาวะเลือดออกกะปริดกะปรอยเป็นจุดๆ และภาวะขาดประจำเดือน
  • เพิ่มความเสี่ยงในการตั้งครรภ์นอกมดลูก
  • ต้องรับประทานยาในเวลาเดียวกันทุกวัน
  1. Progestin implants คือการฝังใต้ผิวหนังคุมกำเนิด

ข้อห้ามใช้

  • ผู้ที่มีเลือดออกผิดปกติจากช่องคลอดซึ่งยังไม่ได้รับการวินิจฉัย
  • โรคตับชนิดที่เป็นเฉียบพลัน
  • เนื้องอกที่ตับชนิดร้ายแรง หรือไม่ร้ายแรง
  • ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นหรือสงสัยว่าเป็นมะเร็งเต้านม
  • โรคหลอดเลือดดำอักเสบ หรือ โรคลิ่มเลือดอุดหลอดเลือด

ข้อดี

  • มีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดนานถึง 5 ปี
  • สามารถกลับมาตั้งครรภ์ได้ภายในเวลาไม่นานหลังจากหยุดใช้ยา
  • ไม่มีผลลดการหลั่งน้ำนมในหญิงให้นมบุตร
  • อาจพิจารณาใช้ในหญิงที่เป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือผู้ที่มีประวัติโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคลิ่มเลือดอุดหลอดเลือด และในหญิงที่สูบบุหรี่หรือให้นมบุตร

ข้อเสีย

  • ต้องมีกระบวนการผ่าตัด
  • อาจพบการมีเลือดประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ปวดศีรษะ น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น หรือเป็นสิว
  • อาการไม่พึงประสงค์ของโปรเจสเตอโรน เช่น เลือดออกกะปริดกะปรอย
  • อาจมีการติดเชื้อเฉพาะที่หรือมีรอยฟกช้ำบริเวณที่ฝังหลอดยา
  • การนำหลอดยาออกอาจทำได้ค่อนข้างลำบาก
  • ค่าใช้จ่ายสูงในช่วงต้น
  • อัตราการเลิกใช้สูง
  1. Depot medroxyprogesterone acetate injection คือการฉีดยาคุม

ข้อห้ามใช้

  • ผู้ที่เลือดออกผิดปกติจากช่องคลอดซึ่งยังไม่ได้รับการวินิจฉัย
  • โรคตับ
  • ผู้ที่ได้รับวินิจฉัยว่าเป็นหรือสงสัยว่าเป็นมะเร็งเต้านม
  • ผู้ที่มีอาการซึมเศร้าอย่างรุนแรง
  • ผู้ที่มีโรคของระบบหัวใจและหลอดเลือดที่มีอาการรุนแรง

ข้อดี

  • ไม่ลดการหลั่งน้ำนม
  • ไม่เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือด
  • อาจลดความถี่ของการชัก
  • มีประสิทธิภาพของการคุมกำเนิดได้นาน 3 เดือน
  • อาจพิจารณาใช้ในหญิงที่เป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือโรคของถุงน้ำดี หรือผู้ที่มีประวัติโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคลิ่มเลือดอุดหลอดเลือด และในหญิงที่สูบบุหรี่ หรือให้นมบุตร

ข้อเสีย

  • ต้องพบแพทย์ทุก 3 เดือน
  • ประจำเดือนอาจมาไม่สม่ำเสมอ ปวดศีรษะ น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น หรือเป็นสิว
  • อาการไม่พึงประสงค์ของโปรเจสเตอโรน เช่นมีเลือดออกกะปริดกะปรอย
  • หากกลับมาตั้งครรภ์จะมีโอกาสตั้งครรภ์ได้ช้า
  • อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมในผู้ที่มีอายุน้อย
  • อาจมีผลลด HDL (ไขมันดี)
  • การใช้ยาระยะยาวอาจมีผลลดความหนาแน่นของกระดูก

จริงๆก็ยังมีวิธีคุมกำเนิดวิธีอื่นๆอีก แต่ไม่ได้รับความนิยมนัก เราเลยขอไม่เอามาเล่าให้ฟังนะคะ

เพื่อนๆก็ลองเลือกวิธีที่เหมาะกับเพื่อนๆดูนะคะ หรือสามารถปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรใกล้บ้านได้เลยค่ะ

สอบถาม

facebook inbox

Youtube

ปรึกษาโดยตรง

ติดต่อได้เลยค่ะ